วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน


บทความเรื่อง การสอนแนะให้รู้คิด (Cognitively Guided Instruction: CGI):
รูปแบบหนึ่งของการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร
1. ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
                การสอนแนะให้รู้คิด เป็นการสอนที่เน้นประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนเกี่ยวกับองค์ความรู้และทักษะพื้นฐานในการพัฒนา
หลักการและรูปแบบของการสอนแนะให้รู้คิด
การสอนแนะให้รู้คิด (CGI) มีหลักการ ดังนี้ (Fennema, Carpenter and Peterson, 1989)
1. การจัดการเรียนการสอนต้องอยู่บนพื้นฐานว่าอะไรที่นักเรียนแต่ละคนควรรู้
2. การจัดการเรียนการสอนควรพิจารณาว่าจะสามารถพัฒนาแนวคิดทางคณิตศาสตร์ของผู้เรียนได้อย่างไร
3. ต้องมีกิจกรรมในใจในการเรียนคณิตศาสตร์
ขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน CGI
ขั้นที่หนึ่ง              ครูนำเสนอปัญหา
ขั้นที่สอง               ครูช่วยแนะให้นักเรียนมีความเข้าใจในปัญหา และเปิดโอกาสให้นักเรียนแก้ปัญหา
ขั้นที่สาม               นักเรียนรายงานคำตอบและวิธีการแก้ปัญหา หลังจากครูนำเสนอปัญหา และให้เวลา
                                นักเรียนแก้ปัญหา
ขั้นที่สี่                    ครูและนักเรียนช่วยกันอภิปราย หลังจากที่นักเรียนรายงานคำตอบ
บทบาทของผู้สอน  และบรรยากาศในชั้นเรียน CGI
1. ครูควรใช้คำถามหรือคำชี้แนะในขณะที่นักเรียนทำกิจกรรมแล้วไม่สาทารถแก้ปัญหาได้
2. ครูควรมีความกระตือรือร้นและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
3. ครูควรเตรียมสื่อ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆที่เอื้ออำนวยต่อการแก้ปัญหาของผู้เรียน
4. ครูควรสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้สึกดีในการเรียนคณิตศาสตร์และเปิดโอกาสให้นักเรียนสามารถสื่อสารแนวคิดและให้เหตุผลได้หลากหลาย
5. ครูควรนำเสนอปัญหา สถานการณ์หรือกิจกรรมที่เหมาะสมกับนักเรียนทุกคน และสามารถพัฒนาความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนได้
6. ครูควรจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้นักเรียนสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง
7. ส่งเสริมให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่ม และมีการอภิปรายแนวคิดของตนเองกับผู้อื่น
8. ครูควรให้เวลาที่เหมาะสมแก่นักเรียนในการแก้ปัญหาต่าง ๆ
9. ครูไม่ควรเตรียมแนวทางการสอนที่ชัดเจนตายตัวหรือใช้สื่ออุปกรณ์การเรียนการสอนที่เฉพาะเจาะจง

2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
จะนำหลักการและรูปแบบการสอนแนะให้รู้คิด ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน นำบทบาทของผู้สอนไปประยุกต์ใช้และสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนที่ทำให้เด็กสามารถเรียนรู้และเข้าใจด้วยตนเองได้เป็นอย่างดีในบทเรียนนั้น ๆ ซึ่งจะใช้การเรียนการสอนโดยให้เด็กฝึกคิด ร่วมกันอภิปรายในชั้นเรียน เพื่อคิดแก้ปัญหาแล้วนำมาอภิปรายร่วมกัน
            
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
นำหลักการสอนและให้รู้คิด ออกแบบการเรียนการสอนได้ดังนี้ คือ
1. จัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองและมีความกระตือรือร้นในการเรียน
2. จัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนทำงานเป็นกลุ่มแล้วร่วมกันอภิปรายในกลุ่ม
3. มีสื่อการเรียนการสอนที่หลากหลายเพื่อสร้างบรรยากาศในการเรียนการสอนให้กับผู้เรียน

บทความเรื่อง ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ของ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล
1. ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นครูแห่งแผ่นดินและพระองค์ท่านเคยรับสั่งว่า ประเทศชาติจะเจริญหรือเสื่อมลงได้นั้นย่อมขึ้นอยู่กับการศึกษาของประชาชนแต่ละคนเป็นสำคัญความเป็นครูของพระองค์คือ ประการแรก ทรงทำให้ดูความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวคือครูจะต้องมีความรู้ที่ครอบคลุม รู้ลึก รู้จริงและรู้กระจ่างแจ้ง การที่ครูจะให้ศิษย์ทำอะไรเป็น ครูจะต้องทำเป็นก่อนและที่สำคัญเรียนรู้อะไรแล้วต้องรู้จักนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับวิถีชีวิตของตนเอง
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
ดิฉันจะนำความรู้ที่ได้จากบทความนี้ไปประยุกต์ในกับการเรียนการสอน อันดับแรกดิฉันจะเริ่มจากตัวเองก่อนโดยการจะเป็นคนใฝ่รู้ จะหาความรู้เพิ่มเติมอยู่ตลอด แล้วจะนำไปสอนให้กับเยาวชน คือจะปลูกฝังความรู้ ความคิดให้กับเยาวชนในทางที่ดี และถูกต้อง
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่าง
                ดิฉันจะจัดการเรียนการสอนจะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง จะไม่สอนแบบบอกกล่าว เพราะจะทำให้ผู้เรียนรู้แบบไม่รู้จริง และจะจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ประยุกต์ใช้และเชื่อมโยงได้ในทุก ๆ ด้านและสามารถนำไปแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ และจะนำคุณธรรมจริยธรรมสอดแทรกในการเรียนการสอนด้วย เช่น ในเรื่องคุณธรรม  ความซื่อสัตย์ ตรงเวลา เป็นต้น เพื่อจะทำให้ผู้เรียนได้เป็นคนเก่งควบคู่กับการเป็นคนดีในสังคมด้วย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น