วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

ทดสอบปลายภาค

1. แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ให้นักศึกษาอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา"ให้เขียนเชื่อมโยง วิเคราะห์ลงในบล็อกของนักเรียน
แท็บเล็ตมีข้อได้เปรียบกว่าโน้ตบุ๊ก เพราะใช้งานได้สะดวก ไม่มีแป้นพิมพ์ น้ำหนักเบา กินไฟน้อยกว่า ใช้หน้าจอแบบสัมผัส มีความคล่องตัว เพราะใช้กับโปรแกรมหรือแอพพลิเคชั่นสำเร็จรูป แต่ป้อนข้อมูลได้ช้าถ้าจะใช้งานให้ดีต้องเชื่อมโยงกับเครือข่ายข้อมูลจากโลกอินเทอร์เน็ต อีกทั้งหน้าจอจะเสียหายได้ง่าย   แท็บเล็ต เป็นเครื่องมือให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่ายและเร็วกว่าที่จะจดจำเอง รูปแบบการศึกษาที่ต้องเปลี่ยนจากการสอนเป็นการเรียนรู้และแสวงหาด้วยตนเอง เปลี่ยนจากเน้นเนื้อหาในกรอบหลักสูตรมาเป็นเน้นทักษะ ความคิดและกระบวนการ
การใช้แท็บเล็ตในทางการศึกษามีทั้งผลดีและผลเสียต่อผู้เรียน คือถ้าหากผู้เรียนในเครื่องนี้เพื่อการศึกษาหาความเพิ่มเติมก็จะมีประโยชน์ และมีประโยชน์ที่ว่สามารถหาความรู้ได้อย่างรวดเร็ว ส่วนผลเสียของแท็บเล็ตจะทำให้บรรยากาศในห้องเรียนไม่มีความสนุกสนานเพราะต่างคนก็ต่างดูไปที่หน้าจอ และนักเรียนอาจใช้แท็บเล็ตไปทางที่ผิดก็ได้
 

 
2. อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "สมาคมอาเซียน" ให้เขียนวิเคราะห์ ประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร
อาเซียน (ASEAN) ประกอบด้วย 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย สิงคโปร์ อินโดเนเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน  เวียดนาม   ลาว  พม่า   กัมพูชา    มีประชากรรวมกันประมาณ 570 ล้านคน มีขนาดเศรษฐกิจที่โตมาก   ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสา คือ
                1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน  (ASEAN Security Community – ASC) มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้ง ระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง
                2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน   
                3.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community - ASCC) เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม
การเตรียมตัวเป็นครูเพื่อไปสู่อาเซียน
ครูจะต้องเตรียมตัวในเรื่องการจัดแผนการศึกษา ต้องพัฒนาตนเองในเรื่องการการจัดการเรียนการสอนให้ทันสมัย และต้องใช้วัฒนธรรมความเป็นไทยคู่กับการเข้าสู่อาเซียนเพื่อไม่ให้วัฒนธรรมของความเป็นไทยสูญหาย และควรฝึกใช้ภาษาอังกฤษให้ได้พร้อมกับปลูกฝังให้นักเรียนรักและชอบภาษาอังกฤษเพื่อไปใช้ในยุคของสังคมอาเซียน
การเตรียมตัวเป็นนักเรียนเพื่อไปสู่อาเซียน
                        นักเรียนต้องเตรียมความพร้อมในเรื่องของภาษา ควรศึกการเป็นอยู่ของประเทศต่าง ๆ เพื่อที่จะได้ปรับตัวให้ตัวเองอยู่ได้ในทุกสังคมของแต่ประเทศ และเคารพในความเป็นมนุษย์ของกันและกัน

                ที่มา :    www.mof.or.th/nananaru/prachakomAsian.pdf
                                 บทความของ     ดร.ชูศักดิ์   ประเสริฐ  (ผอ.กลุ่มนโยบายและแผน)
 
3. อ่านบทความครูกับภาวะผู้นำของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครู ให้ยกตัวอย่าง ประกอบ แสดงความคิดเห็น
4.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร แสดงความคิดเห็นหากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอกาสจะเป็นอย่างไร ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร และหานักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้ นักเรียนจะต้องพิจารณาว่า
4.1 ตนเองมีความพยายามมากน้อยเพียงใด
4.2 เข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเรียน
4.3 ทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน
4.4 ทำงานบทบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น
4.5.สิ่งที่นักเรียนตอบมานั้นเป็นความสัตย์จริง เขียนอธิบายลงในบล็อก
4.6.อาจารย์จะพิจารณาจากผลงานและความตั้งใจ ความสื่อสัตย์ตนเอง และบอกเกรดว่าควรจะได้เท่าไร แสดงความคิดเห็น

ข้าพเจ้าคิดว่าการเรียนรู้โดยการใช้บล็อกมีประโยชน์มากและเป็นวิธีที่ทันสมัย เพราะการใช้บล็อคนั้นจะต้องใช้อินเตอร์เน็ตซึ่งในปัจจุบันไม่ว่าจะทำอะไรก็ต้องใช้อินเตอร์เน็ตเพราะมันสะดวกและรวดเร็ว และงานที่อยู่ในบล็อกสามารถอยู่ได้นานและคนอื่นสามารถเข้าไปอ่านของเราได้อีก
ถ้าจะให้ข้าพเจ้าให้คะแนนวิชานี้ ถ้าหากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ข้าพเจ้าจะ 10 คะแนน เพราะวาชามีการเรียนการสอนที่แปลกจากวิชาอื่น ๆ ที่ใช้บล็อกในการเรียนการสอน ซึ่งเป็นวิธีที่ทันสมัยนำเทคโนโลยีมาใช้ ลดการใช้กระดาษที่เป็นเอกสาร ลดภาวะโลกร้อนอีกทางหนึ่ง และความรู้ที่เราได้บันทึกไว้ในบล็อคซึ่งข้อความเหล่านั้นไม่มีทางสูญหายได้ และการเรียนแบบนี้ยังทำให้นักศึกษามีความกระตือรือร้นในการค้นหาข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ
ข้าพเจ้าต้องการจะได้เกรดในวิชานี้ เกรด A เพราะ ข้าพเจ้ามีความพยายามและกระตือรือร้นในการเรียนวิชานี้มาก ข้าพเจ้ามีความพร้อมในการเรียนวิชานี้ทุกคาบ คือข้าพเจ้าโน้ตบุ๊กมาเรียนวิชานี้ทุกครั้ง ข้าพเจ้าไม่เคยขาดเรียน ข้าพเจ้าทำงานลงในบล็อคอย่างเต็มความสามารถและมีการศึกษาหาข้อมูลมาจากหลาย ๆ แหล่ง เพื่อมาสรุปเป็นความคิดของตนเอง

วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 9

การจัดห้องเรียน
การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน เป็นสิ่งสำคัญในการช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถรับผิดชอบควบคุมดุแลตนเอง ได้ในอนาคต การจัดบรรยากาศมีทั้งด้านกายภาพ เป็นการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนทั้งการจัดตกแต่งในห้องเรียน จัดที่นั่ง จัดมุมเสริมความรู้ต่างๆ ให้สะดวกต่อการเรียนการสอน ทางด้านจิตวิทยา เป็นการสร้างความอบอุ่น ความสุขสบายใจให้กับผู้เรียน
ห้องเรียนที่ดีควรมีสีสันที่น่าดู สบายตา อากาศถ่ายเทได้ดี ถูกสุขลักษณะ จัดโต๊ะเก้าอี้และสิ่งที่ที่อยู่ในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน และกิจกรรมประเภทต่างๆ ให้นักเรียนได้เรียนอย่างมีความสุข   มีอิสรเสรีภาพ และมีวินัยในการดูแลตนเอง   ใช้ประโยชน์ชั้นเรียนให้คุ้มค่า ครูอาจดัดแปลงให้เป็นห้องประชุม ห้องฉายภาพยนตร์และอื่น ๆ จัดเตรียมชั้นเรียนให้มีความพร้อมต่อการสอนในแต่ละครั้ง เช่น การทำงานกลุ่ม การสาธิตการแสดงบทบาทสมมุติ  สร้างบรรยากาศให้อบอุ่น ให้ความเป็นกันเองกับผู้เรียน

กิจกรรมที่ 8

ครูมืออาชีพในความคิดของข้าพเจ้า
ครูมืออาชีพในอุดมคติของข้าพเจ้า จะมีลักษณะแบบนี้
1. ฟังเหตุผลของนักเรียน
2. เข้าใจความรู้สึกของนักเรียนเวลามีปัญหา
3. เป็นได้ทุกอย่างเวลาอยู่หน้าห้องเรียน
4. รักนักเรียนเท่าๆกัน
5. รอบรู้ในทุกๆด้าน
6. แต่งกายสุภาพเรียบร้อย พูดจาสุภาพ เป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องของมารยาท

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน


บทความเรื่อง การสอนแนะให้รู้คิด (Cognitively Guided Instruction: CGI):
รูปแบบหนึ่งของการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร
1. ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
                การสอนแนะให้รู้คิด เป็นการสอนที่เน้นประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนเกี่ยวกับองค์ความรู้และทักษะพื้นฐานในการพัฒนา
หลักการและรูปแบบของการสอนแนะให้รู้คิด
การสอนแนะให้รู้คิด (CGI) มีหลักการ ดังนี้ (Fennema, Carpenter and Peterson, 1989)
1. การจัดการเรียนการสอนต้องอยู่บนพื้นฐานว่าอะไรที่นักเรียนแต่ละคนควรรู้
2. การจัดการเรียนการสอนควรพิจารณาว่าจะสามารถพัฒนาแนวคิดทางคณิตศาสตร์ของผู้เรียนได้อย่างไร
3. ต้องมีกิจกรรมในใจในการเรียนคณิตศาสตร์
ขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน CGI
ขั้นที่หนึ่ง              ครูนำเสนอปัญหา
ขั้นที่สอง               ครูช่วยแนะให้นักเรียนมีความเข้าใจในปัญหา และเปิดโอกาสให้นักเรียนแก้ปัญหา
ขั้นที่สาม               นักเรียนรายงานคำตอบและวิธีการแก้ปัญหา หลังจากครูนำเสนอปัญหา และให้เวลา
                                นักเรียนแก้ปัญหา
ขั้นที่สี่                    ครูและนักเรียนช่วยกันอภิปราย หลังจากที่นักเรียนรายงานคำตอบ
บทบาทของผู้สอน  และบรรยากาศในชั้นเรียน CGI
1. ครูควรใช้คำถามหรือคำชี้แนะในขณะที่นักเรียนทำกิจกรรมแล้วไม่สาทารถแก้ปัญหาได้
2. ครูควรมีความกระตือรือร้นและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
3. ครูควรเตรียมสื่อ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆที่เอื้ออำนวยต่อการแก้ปัญหาของผู้เรียน
4. ครูควรสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้สึกดีในการเรียนคณิตศาสตร์และเปิดโอกาสให้นักเรียนสามารถสื่อสารแนวคิดและให้เหตุผลได้หลากหลาย
5. ครูควรนำเสนอปัญหา สถานการณ์หรือกิจกรรมที่เหมาะสมกับนักเรียนทุกคน และสามารถพัฒนาความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนได้
6. ครูควรจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้นักเรียนสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง
7. ส่งเสริมให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่ม และมีการอภิปรายแนวคิดของตนเองกับผู้อื่น
8. ครูควรให้เวลาที่เหมาะสมแก่นักเรียนในการแก้ปัญหาต่าง ๆ
9. ครูไม่ควรเตรียมแนวทางการสอนที่ชัดเจนตายตัวหรือใช้สื่ออุปกรณ์การเรียนการสอนที่เฉพาะเจาะจง

2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
จะนำหลักการและรูปแบบการสอนแนะให้รู้คิด ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน นำบทบาทของผู้สอนไปประยุกต์ใช้และสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนที่ทำให้เด็กสามารถเรียนรู้และเข้าใจด้วยตนเองได้เป็นอย่างดีในบทเรียนนั้น ๆ ซึ่งจะใช้การเรียนการสอนโดยให้เด็กฝึกคิด ร่วมกันอภิปรายในชั้นเรียน เพื่อคิดแก้ปัญหาแล้วนำมาอภิปรายร่วมกัน
            
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
นำหลักการสอนและให้รู้คิด ออกแบบการเรียนการสอนได้ดังนี้ คือ
1. จัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองและมีความกระตือรือร้นในการเรียน
2. จัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนทำงานเป็นกลุ่มแล้วร่วมกันอภิปรายในกลุ่ม
3. มีสื่อการเรียนการสอนที่หลากหลายเพื่อสร้างบรรยากาศในการเรียนการสอนให้กับผู้เรียน

บทความเรื่อง ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ของ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล
1. ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นครูแห่งแผ่นดินและพระองค์ท่านเคยรับสั่งว่า ประเทศชาติจะเจริญหรือเสื่อมลงได้นั้นย่อมขึ้นอยู่กับการศึกษาของประชาชนแต่ละคนเป็นสำคัญความเป็นครูของพระองค์คือ ประการแรก ทรงทำให้ดูความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวคือครูจะต้องมีความรู้ที่ครอบคลุม รู้ลึก รู้จริงและรู้กระจ่างแจ้ง การที่ครูจะให้ศิษย์ทำอะไรเป็น ครูจะต้องทำเป็นก่อนและที่สำคัญเรียนรู้อะไรแล้วต้องรู้จักนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับวิถีชีวิตของตนเอง
2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
ดิฉันจะนำความรู้ที่ได้จากบทความนี้ไปประยุกต์ในกับการเรียนการสอน อันดับแรกดิฉันจะเริ่มจากตัวเองก่อนโดยการจะเป็นคนใฝ่รู้ จะหาความรู้เพิ่มเติมอยู่ตลอด แล้วจะนำไปสอนให้กับเยาวชน คือจะปลูกฝังความรู้ ความคิดให้กับเยาวชนในทางที่ดี และถูกต้อง
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่าง
                ดิฉันจะจัดการเรียนการสอนจะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง จะไม่สอนแบบบอกกล่าว เพราะจะทำให้ผู้เรียนรู้แบบไม่รู้จริง และจะจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ประยุกต์ใช้และเชื่อมโยงได้ในทุก ๆ ด้านและสามารถนำไปแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ และจะนำคุณธรรมจริยธรรมสอดแทรกในการเรียนการสอนด้วย เช่น ในเรื่องคุณธรรม  ความซื่อสัตย์ ตรงเวลา เป็นต้น เพื่อจะทำให้ผู้เรียนได้เป็นคนเก่งควบคู่กับการเป็นคนดีในสังคมด้วย


วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 7

โทรทัศน์ครูสนใจ


สอนเรื่อง GSP กับการสอนความน่าจะเป็น

ผู้สอนชื่อ
คุณครูเล็ก สินวิชัย รร.วชิรธรรมสาธิต
ระดับชั้นที่สอน มัธยมศึกษาตอนปลาย

เนื้อหาที่ใช้สอน
การสอนของครูเล็กทำให้นักเรียนเรียนอย่างเป็นรูปธรรม ในเรื่องความน่าจะเป็นครูส่วนใหญ่มักสอนแบบบรรยายเพราะคิดว่าเป็นเรื่องเข้าใจง่าย และใช้เวลาน้อยในการจัดการเรียนการสอน แต่ครูเล็กสอนให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง การใช้ gsp ร่วมกับกระดานอัจฉริยะทำให้เกิดประสิทธิภาพ นักเรียนสามารถออกมาร่วมกิจกรรมกับครูได้อย่างสนุกสนาน และเข้าใจบทเรียนดียิ่งขึ้น จากการดูเทปนี้ทำให้ข้าพเจ้าเกิดแนวคิดที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในห้องเรียนทั้งในเรื่องความน่าจะเป็นและอื่นๆอีก ขอบคุณสำหรับการเรียนรู้ครั้งนี้

บรรยากาศการจัดห้องเรียน
ในห้องเรียน ห้องเรียนมีการจัดโต๊ะแบบนั่งเป็นกลุ่ม 5-6 คน โต๊ะครูอยู่ด้านหน้า มีการใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์   ครูจะอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ และมีการถามเป็นรายกลุ่ม              

กิจกรรมที่ 6

เรื่องที่ตนเองสนใจ 1 เรื่อง

กิจกรรมที่ 5

คุณครูที่ชอบ
ครูจุรี โก้สกุล
            เกิดเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2500 อายุ 54 ปี
            การศึกษา : จบปริญญาครุศาสตรบัณฑิต สาขาการศึกษาพิเศษ ปี พ.ศ. 2526 จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต(มสด.)
            เริ่มเป็นครูครั้งแรกในตำแหน่งครูประจำชั้น ที่โรงเรียนโสตศึกษา จังหวัดสงขลา
            ปัจจุบันดำรงตำแหน่งครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนภูเก็ตปัญญานุกูล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)
            ครูจุรี เป็นครูที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยเก็บเกี่ยวประสบการณ์ที่ได้เป็นครูมาตั้งแต่ปี 2522 ในปี 2542 ครูจุรีได้ทำงานวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการแก้ปัญหา การออกเสียงพยัญชนะ ต สำหรับผู้พิการที่บกพร่องทางการได้ยิน ระดับ ชั้น ป.4 เป็นสื่อนวัตกรรมทางการศึกษาที่เป็นประโยชน์สำหรับนักเรียนที่มีปัญหาทางการได้ยิน นอกจากนี้ยังได้จัดทำ โปรแกรมประดิษฐ์พจนานุกรมภาษามือ ช่วยสื่อสารคนพิการทางหู โดยเป็นสื่อที่สามารถติดต่อออนไลน์ได้ทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งได้นำเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์เดลินิวส์และหนังสือพิมพ์มติชน
            ครูจุรี เป็นครูที่รักเมตตานักเรียน ช่วยเหลือส่งเสริม ให้ความเป็นกันเอง สนทนาไต่ถามทุกข์สุขของนักเรียน ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี พัฒนาตนเองในด้านวิชาชีพครูอยู่เสมอ รักและศรัทธาในวิชาชีพครู ชื่นชมในเกียรติและรางวัลที่ได้รับ และเป็นผู้ที่มีผลงานทางวิชาการเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง เช่น งานวิจัยในชั้นเรียน เรื่องการแก้ปัญหาการออกเสียงพยัญชนะ ต สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน งานวิจัยหนังสือเสริมการอ่าน หนังสือเอกสารภาษามือ เล่ม 1,2 “การพูดสำคัญอย่างไรเอกสารแผ่นพับ อรรถบำบัด แบบสะกดนิ้วมือไทย ,อังกฤษ และแบบสะกดตัวเลข และได้รับการยกย่องในผลงานบทความภาษาอังกฤษ นางฟ้าของคนหูหนวก” The angle of the deaf ที่ลงพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ Phuket Gazette ฉบับวันที่ 1-7 มีนาคม 2551
            ตลอดระยะเวลาการเป็นครูสอนผู้พิการที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ได้ฝึกฝนพัฒนาศิษย์อย่างเต็มที่ พยายามเลือกใช้วิธีสอนที่หลากหลาย เพื่อให้เหมาะสมกับความพิการ เช่น จัดโปรแกรมการฝึกพูดและแก้ไขการฝึกพูด เพื่อให้สามารถติดต่อกับคนปกติได้ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับประเภทของการพิการ ศึกษาหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ทั้งในและนอกโรงเรียน แล้วนำมาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน จนสามารถสรุปเป็นองค์ความรู้ร่วมกันนี่คือความทุ่มเทและความมุ่งมั่นตั้งใจของครูจุรี ที่มีให้แก่ศิษย์
            จากความรู้ ความสามารถและความมุ่งมั่นในการเป็นครู ได้ส่งผลให้ครูจุรี มีผลงานเป็นที่ยอมรับ ที่เป็นรูปธรรม ที่แสดงถึงความมีจิตวิญญาณของความเป็นครู มีผลงานเชิงประจักษ์ ทำให้ได้รับรางวัลต่าง ๆ ที่ภาคภูมิใจอย่างต่อเนื่อง 5 ปี ซ้อน เช่น รางวัลครูดีในดวงใจ รางวัลเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ คุรุสดุดี รางวัล ครูเกียรติยศ รางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รางวัลครูการศึกษาพิเศษดีเด่น ผลงานที่กล่าวมา ส่งผลให้ครูจุรีได้รับการพิจารณาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นครูชำนาญการพิเศษ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2550 และได้รับการยกย่องไว้วางใจจากเพื่อนร่วมงาน ให้เป็นผู้เชี่ยวชาญอ่านผลงานทางวิชาการของโรงเรียนต่าง ๆ ด้วย
นักศึกษาประยุกต์สิ่งที่ดีของครูมาใช้ในการพัฒนาตนเอง
            ครูจุรี เป็นบุคคลที่มีความสามารถและมีความมุ่งมั่นในความเป็นครู เป็นบุคคลที่ขยัน และมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาการในเรื่องของการสอนอยู่ตลอด ซึ่งเราสามารถนำมาใช้ในชีวิตของเราในอนาคตได้ คือ ต้องมีใจรักในบทบาทของครู และทำหน้าของความเป็นครูอย่างทำที และเราควรมีพัฒนาการในการสอนของตนเองอยู่เสมอ และมีความคิดที่แปลกใหม่ซึ่งไม่เหมือนใครเพื่อเป็นผลงานของตนเอง