วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 4

             กาทำงานเป็นทีม
            การทำงานเป็นทีม หมายถึง การร่วมกันทำงานของสมาชิกที่มากกว่า 1 คน โดยที่สมาชิกทุกคนนั้นจะต้องมีเป้าหมายเดียวกันจะทำอะไรแล้วทุกคนต้องยอมรับร่วมกัน มีการวางแผนการทำงานร่วมกัน
การทำงานเป็นทีมมีความสำคัญในทุกองค์กรการทำงานเป็นทีมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเพิ่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารงานการทำงานเป็นทีมมีบทบาทสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือของกลุ่มสมาชิกเป็นอย่างดี


ขั้นตอนการทำงานเป็นทีม
1.วิเคราะห์งาน                                                
2.กำหนดเป้าหมายร่วมกัน
3.วางแผนการทำงาน                                       
4.กำหนดกิจกรรม
5.แบ่งงานให้สมาชิกของทีม                           
6.ปฏิบัติงานตามแผน
7.ติดตามผลและนิเทศงาน                               
8.ประเมินขั้นสุดท้าย
                ทีมงานที่มีประสิทธิภาพสมาชิกทุกคน จะต้องเข้าใจวัตถุประสงค์และเป้าหมายชัดเจน เปิดเผยจริงใจและร่วมกันแก้ปัญหา สนับสนุนไว้วางใจ ยอมรับ และรับฟังกัน ร่วมมือกัน ใช้ความขัดแย้งในเชิงสร้างสรรค์ ทบทวนการปฏิบัติงานและตื่นตัวตลอดเวลา มีการพัฒนาตนเอง รู้จักตนเองและรู้จักผู้อื่น เข้าใจต่อเพื่อนร่วมงาน และสามารถร่วมกลุ่มกันได้เป็นอย่างดี

1.แนวคิดหลักการทำงานเป็นทีม เป็นอย่างไร
                    แนวคิดและหลักการทำงานเป็นทีมนั้นควรมี 3 ประการคือ การยอมรับความแตกต่างของบุคคล มีแรงจูงใจของธรรมชาติของมนุษย์

2. นักศึกษาจะมีวิธีการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพทำอย่างไร ยกตัวอย่างประกอบ
                 บรรยากาศของการทำงานมีความเป็นกันเอง อบอุ่น มีความกระตือรือร้น และสร้างสรรค์ ทุกคนช่วยกันทำงานอย่างจริงจัง และจริงใจ ไม่มีร่องรอยที่แสดงให้เห็นถึงความเบื่อหน่ายความไว้วางใจกัน เป็นหัวใจสำคัญของการทำงานเป็นทีม สมาชิกทุกคนในทีมควรไว้วางใจซึ่งกันและกันได้ซื่อสัตย์ต่อกัน สื่อสารกันอย่างเปิดเผย ไม่มีลับลมคมใน มีการมอบหมายงานอย่างชัดเจน สมาชิกทีมงานเข้าใจวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และยอมรับภารกิจหลักของทีมงาน บทบาทสมาชิกแต่ละคนเข้าใจและปฏิบัติตามบทบาทของตน และเรียนรู้เข้าใจในบทบาทของผู้อื่นในทีม ทุกบทบาทมีความสำคัญ รวมทั้งบทบาทในการช่วยรักษาความเป็นทีมงานให้มั่นคง เช่น การประนีประนอม การอำนวยความสะดวก การให้กำลังใจ

             ตัวอย่าง  ในการทำงานกลุ่มแต่ละครั้ง เมื่อเราได้รับมอบหมายงานมา สมาชิกในกลุ่มก็มาประชุมกัน เพื่อวิเคราะห์งานว่างานชิ้นนี้เราจะต้องมีเป้าหมายในการทำงานอย่างไร เมื่อกำหนดเป้าหมายเสร็จก็จะต้องมีการวางแผนในการทำงานเพื่อกำหนดกิจกรรมที่จะทำแล้วก็จะแบ่งงานให้กับสมาชิกแต่ละคน เมื่อทุกคนในกลุ่มเห็นด้วยกับการประชุมครั้งนี้ก็แยกย้ายกันไปปฏิบัติงาน ซึ่งในการทำงานสมาชิกทุกคนจะต้องมาร่วมกันประเมินผลและนิเทศงานของแต่ละคนซึ่งกันและกัน เมื่อเจอปัญหาก็จะต้องช่วยกันแก้ปัญหา และสุดท้ายเมื่องานเป็นไปตามแผนทุกคนในกลุ่มก็มาร่วมกันประเมินและรวบรวมงานออกมาเป็นที่สิ้นสุด










กิจกรรมที่ 3


1. การจัดการเรียนการสอน  จัดชั้นเรียน  เตรียมการสอน ในยุคศตวรรษที่ 21 กับยุคก่อนศตวรรษที่ 21 เปรียบเทียบกันแตกต่างกันอย่างไร

ในยุคศตวรรษที่ 21  เป็นการเตรียมตัวเพื่อชีวิต ดังนั้นเมื่อถึงระยะหนึ่ง  การเรียนรู้ก็จะสิ้นสุดลงเพื่อการเริ่มต้นของชีวิต การเรียนรู้ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในโรงเรียน  และจะมีผู้ที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษ หรือผู้ที่มีความรู้เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้   การศึกษาจะเกิดขึ้นในโรงเรียนเท่านั้น ทำให้มนุษย์ในยุคนี้ไม่รู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง และไม่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง  ถ้าคนใดจดจำความรู้ได้มาก ย่อมเรียนรู้ได้ดีกว่าคนที่จดจำความรู้ได้น้อย

ส่วนในยุคศตวรรษที่ 21 การเรียนรู้คือชีวิต เพราะมนุษย์เป็นสัตว์ที่ต้องเรียนรู้ (learning animal) ตราบที่ยังมีชีวิตอยู่  การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ทุกหนทุกแห่ง และเกิดขึ้นที่ไหนก็ได้  มนุษย์สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ในยุคนี้การศึกษาเป็นกิจกรรมตลอดชีวิต ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ให้สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคลได้ มนุษย์สามารถเรียนรู้และตัดสินใจด้วยตนเองได้ว่าจะเรียนอะไร เรียนอย่างไร ในยุคนี้ มนุษย์ทุกคนได้รับการกล่อมเกลา และมีความเจริญก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ ในสังคมที่ตนเป็นสมาชิกอยู่แล้ว

2. ครูผู้สอนจะต้องเตรียมตัวอย่างไรในอนาคตที่ท่านจะเป็นครูยุดต่อไปข้างหน้า ให้สรุปตามแนวคิดของนักศึกษา

ครูในอนาคตต้องมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีเป็นอย่างยิ่ง จะต้องเป็นครูที่ทันสมัยและจะต้องหาวิธีการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนที่หลากหลาย และใช้เทคโนโลยีเป็นสื่อในการเรียนการสอนดังกล่าวไว้ข้างต้น เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้น กระตุ้นให้เกิดความสนใจในการเรียน เกิดกระบวนการคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ อีกทั้งยังทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนสามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในชีวิตประจำวันได้จริงในครั้งต่อไป

กิจกรรมที่ 2

ทฤษฎีการศึกษา
มาสโลว์ ทฤษฎีของเขามีพื้นฐานอยู่บนความคิดที่ว่า การตอบสนองแรงขับเป็นหลักการเพียงอันเดียวที่มีความสำคัญที่สุดซึ่งอยู่เบื้องหลังพฤติกรรมของมนุษย์ เขาแบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับได้แก่ ความต้องการทางกายภาพ ความต้องการความปลอดภัย ความต้องการทางสังคม ความต้องการยกย่องชื่อเสียง ความต้องการที่จะรู้จักตนเอง
Douglas Mc Gregor : ทฤษฎี X และทฤษฎี Y เป็นทฤษฎีการมองต่างมุม ทฤษฎี X เป็นบุคคลที่เกียจคร้าน ไม่กระตือรือร้น ทฤษฎี Yเป็นบุคคลที่ขยันมีความรับผิดชอบ มีกระตือรือร้น
William Ouchi : ทฤษฎี Z เป็นทฤษฎีลูกผสมระหว่างญี่ปุ่นกับอเมริกัน หรือทฤษฎีร่วมสมัย เป็นทฤษฎีที่มองเห็นว่าการจูงใจคนนั้นต้องเป็นไปตามสถานการณ์ ดังนั้นวิลเลี่ยม จึงศึกษาถึงจุดดีของการบริหารจัดการจากสองค่ายนำมาสร้างเป็นแนวคิดขึ้นมาเมื่อไม่นานมานี้ การที่จะทำความเข้าใจทฤษฎี Z ได้นั้น ต้องทำความเข้าใจของทฤษฎี A และทฤษฎี J ก่อน ทฤษฎี A คือเป็นทฤษฎีว่าด้วยการบริหารจัดการร่วมสมัยตามแบบของอเมริกาการบริหารจัดการแบบนี้ต้องอาศัยการจัดการจากพื้นฐานของบุคคล ทฤษฎี J คือ การบริหารจัดการแบบญี่ปุ่นมีลักษณะการจ้างงานตลอดชีวิตจะส่งเสริมให้มีการฝึกงานอย่างค่อยเป็นค่อยไปทฤษฎี Z เป็นแนวคิดของการบริหารจัดการเชิงจินตนาการ
Henry Fayol  : เป็นบิดาทฤษฎีการบริหารจัดการสมัยใหม่          เขาเชื่อว่าการบริหารนั้นเป็นเรื่องของทักษะ และเขาสนใจที่จะศึกษาองค์การโดยรวมและมุ่งเน้นที่กิจกรรมการจัดการ
Max Weber :  เป็นเจ้าของทฤษฎีการจัดการตามระบบราชการ          แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) เห็นว่าเป็นลักษณะองค์การที่เป็นอุดมคติที่องค์การทั้งหลายควรจะเป็น หากได้รับการพัฒนาในระดับที่เหมาะสม มี 6 ประการ คือ
             1. องค์การต้องมีการจัดแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ
               2. องค์การนั้นต้องมีสายบังคับบัญชาตามลำดับชั้น
              3. ระบบการคัดเลือกคนนั้นต้องกระทำอย่างเป็นทางการ
               4. องค์การต้องมีระเบียบ และกฎเกณฑ์
                            5. ความไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
                6. การแยกระบบการทำงานออกเป็นสายอาชีพ
Luther Gulick  : เป็นเจ้าของทฤษฏี POSDCORB Luther Gulick เป็นผู้คิดรูปแบบการบริหารจัดการโดยมีกิจกรรม 7 ประการมาใช้ในการบริหารจัดการ ในวงการบริหารจะรู้จักกิจกรรมทั้ง 7 ประการนี้เป็นอย่างดี มีคำย่อว่า POSDCORB(CO คือคำเดียวกัน) แนวความคิดที่นำเอามุมมองทั้ง 7 ด้านมาใช้นั้นสอดคล้องกับทฤษฎีการบริหารจัดการของ Henri Fayol , Frederick W.Taylor และ Max Weber
Frederick Herzberg :  เป็นเจ้าของ ทฤษฎี 2 ปัจจัย เฮิร์ซเบอร์กได้ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับแรงจูงใจของคน เขาประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ
                 ปัจจัยภายนอก
                 ปัจจัยภายใน

วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 1


 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา
การบริหาร คือ การที่บุคคลตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไป ร่วมมือกันทำงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน อย่างเป็นกระบวนการมีและระบบภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่ โดยใช้เทคนิควิธีการต่างๆ
การศึกษา  เป็นกระบวนการให้ส่งเสริมให้บุคคลเจริญเติบโตและมีความเจริญงอกงามทางกาย  อารมณ์ สังคม และสติปัญญาจนเป็นสมาชิกของสังคมที่มีคุณธรรมสูง
                การบริหารการศึกษา คือ กิจกรรมต่างๆที่บุคคลหลายคนร่วมมือกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาบุคคลให้มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ พฤติกรรมและมีคุณธรรม ให้เป็นคนดีในสังคม 

วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แนะนำตัวเอง

ประวัติส่วนตัว
ชื่อ  นางสาวจิราภรณ์  ดำดุก
ชื่อเล่น  แอน
วันเกิด  วันจันทร์ที่ 28  มกราคม  พ.ศ. 2534
เบอร์โทรศัพท์  084-509-5408
E-mail  anann_lovel@hotmail.com
ที่อยู่  165  หมู่ที่  12  ตำบลท่าเรือ  อำเภอเมือง  จังหวัดนครศรีธรรมราช
ดาราที่ชอบ  อรรคพันธ์ นะมาตร์  สีที่ชอบ สีฟ้า
คติประจำใจ อย่าเพิ่งท้อแท้ในสิ่งที่ยังไม่พยายาม และอย่าเพิ่งหมดหวังในสิ่งที่ยังไม่เริ่มต้น


การศึกษา
ระดับอนุบาล-ประถม  โรงเรียนวัดชมพูประดิษฐ์
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น-ตอนปลาย  โรงเรียนปากพนัง
กำลังศึกษาอยู่  ระดับปริญญาตรี  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช  คณะรุศาสตร์  สาขาวิชาคณิตศาสตร์ 

 
ประวัติครอบครัว
บิดา                                    นายบุญเลิศ  ดำดุก 
มารดา                                นางเกษร  ดำดุก
                                             มีพี่น้อง 4 คน เป็นคนที่ 4
มีพี่ชาย 2 คน คือ                นายเสริมศักดิ์  ดำดุก
นายสมบัติ  ดำดุก
มีสาว 1 คน คือ                    นางสาวบุษกร  ดำดุก